ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖
โรงเรียนบ้านกูยิ
ผู้ศึกษา นางฟาตีเมาะ สาแมมะซา
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านกูยิ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑
บทคัดย่อ
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านกูยิ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องการแปรรูปอาหารจาก
เห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านกูยิ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแปรรูปอาหารจาก
เห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านกูยิ ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๒๐ คน ที่เลือกเรียนชุมนุมอาหารคาวหวาน ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ของโรงเรียนบ้านกูยิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๔-๖ จำนวน ๘ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖
จำนวน ๑๐ แผนการจัดการเรียนรู้ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบชนิด
๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖
ที่มีต่อการเรียนรู้ เรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๑๐ ข้อ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ในระหว่างวันที่ ๒๗ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๗ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านกูยิ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๕.๕๔/๘๖.๖๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้
๒) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านกูยิ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๓๖.๑๗ และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๖.๖๗ โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๐.๕๐
๓) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านกูยิ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔๔.๗๕ คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๕๐ อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
๑) จากผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่า ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้า ชุมนุมอาหารคาวหวาน มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ประเด็นนักเรียนนำความรู้จากวิชานี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนั้น ครูผู้สอนหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
๒) จากการประเมินความพึงพอใจพบว่า ประเด็นนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนั้นครูควรพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลทุกๆ กิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน นักเรียนที่มีผลการประเมินสูงจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและสำหรับนักเรียนที่มีผลการประเมินในระดับต่ำจะเกิดการพัฒนาตนเองให้มีผลการประเมินที่สูงขึ้นจนเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป
บันทึกข้อมูลเมื่อ 06-04-2561
|